วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ดอกชบา

                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติดอกชบา



ประวัติ


ประวัติชบา ฤดูร้อน
       ชบาพืชที่พบได้ทั่วไปในส่วนต่างๆ ของโลกมีถิ่นกำเนิดเป็นบริเวณกว้างใขเขตร้อนชื่น จากสมมุติฐานของ Ross Gast ในหนังสือ Genetic History of Hibibiscus rosasinensis บันทึกว่า ชบามีการกระจายพันธุ์เริ่มจากอินเดีย ซึ่งมีการนำชบามาใช้ประโยชน์ในกลุ่มชาวโพลินนีเซียน ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่จีน และบริเวณหมู่เกาะแปซิฟิก โดยนำชบาดอกสีแดง ( ปัจจุบันคือ Hibiscus rosasinensis ) ที่เรียกกันว่า กุหลาบจีน หรือ ” Rose of China ” ซึ่งมี ทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนมาใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ มีการสะสมพันธุ์   และส่งไปประเทศในแถบยุโรป
          ชบาแพร่เข้าสู่ยุโรปครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2221 โดย Van Reed ซึ่งเป็นชบาสีแดงกลีบดอกซ้อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2275 Philip Miller และคณะได้นำชบาพันธุ์ดอกซ้อนและพันธุ์อื่น ๆ เข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยนำมาปลูกสะสมพันธุ์ที่ The Chelsea Physic Garden และทดลองผลิตลูกผสม แต่ยังไม่แพร่หลายนัก ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus javanica เพราะเข้าใจว่าชบาที่นำเข้ามาเป็นพืชพื้นเมืองของเกาะชวา (Java)ของอินโดนีเซีย ต่อมากัปตันคุกและคณะได้เดินเรือสำรวจหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกไปพบชบากลีบดอกซ้อนสีแดงปลูกอยู่ทั่วไป
การปลูกชบาในฮาวายมีความนิยมมากว่า 100 ปีแล้ว  ในช่วงแรกมีการนำชบาสีแดงกลีบดอกชั้นเดียวจากจีนมาผสมกับพันธุ์พื้นเมืองของฮาวาย และพู่ระหง เพื่อผลิตลูกผสมที่มีลักษณะแปลกใหม่ โดยในปีพ.ศ.2457 GERNIT  WILDER เป็นบุคคลแรกที่รวบรวมพันธุ์ชบาและนำมาจัดแสดงได้มากถึง 400 พันธุ์ ในปีต่อมาจึงเรื่มมีผู้ให้ความสนใจและผลิตลูกผสมที่มีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันออกมามากมาย จนในปี พ.ศ.2466 มีการออกกฎหมายประกาศให้ชบาเป็นดอกไม้ประจำ
                   นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาชบาพันธุ์ลูกผสม ๆ โดยนักปรับปรุงพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการเข้ามาสู่ประเทศไทยของชบานั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเมื่อใด  แต่ก็มีเรื่องราวของดอกพุดตาน  [  Hibicus mutabilis  ]  ซึ่งเป็นพืชในสกุล ชบาปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง วรรณกรรมสมัยสุโขทัย กล่าวถึงการใช้ดอกพุดตานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ( เป็นสัญลักษณ์ของการผลัดแผ่นดิน เพราะดอกพุดตานจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิของวันนั่นเอง ) จึงน่าเชื่อได้ว่าจะมีการปลูกเลี้ยงพืชสกุลชบาในประเทศไทยกันแล้วในสมัยสุโขทัยและสันนิษฐานว่าคงจะนำเข้าจากประเทศจีนที่มีการติดต่อค้าขายกันอยู่ในสมัยนั้น นอกจากนี้ในสมัยโบราณคนไทยยังมีประเพณีและความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียในด้านที่ไม่เป็นมงคล  เช่น  การใช้ดอกชบาคล้องคอนักโทษประหาร เพื่อประจานความผิด  แต่ในปัจจุบันความเชื่อนี้ได้ลดน้อยลงจนแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม  ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อที่เป็นสิริมงคลเกี่ยวกับชบา  เช่น  คนปีกุนที่ปลูกบ้านใหม่จะใช้ดอกชบาและใบทองพันชั่งวางก้นหลุมรองเสาเอกของบ้าน  เพราะเชื่อว่าจะทำให้เจ้าของบ้านร่ำรวย จึงกล่าวได้ว่า ชบาเป็นพืชที่มีความผูกพันกับคนไทยมาช้านาน  นิยมนำมาปลูกประดับบ้าน เพราะดูแลรักษาง่ายและออกดอกสวยงามตลอดปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น