วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ดอกปาริชาติ

                  รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ปาริชาติ หรือปาริฉัตร เป็นที่นิยมนำมาตั้งชื่อกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งแท้จริงแล้ว ปาริชาติ เป็นชื่อของดอกไม้ หรือดอกทองหลาง นั่นเอง โดยมีความเชื่อกันว่า ดอกปาริชาติ เป็นดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์ หากใครได้ดมดอกปาริชาติ ก็จะระลึกชาติได้ ได้รู้เห็นอดีตชาติของตนเอง... ถ้าอย่างงั้น เราลองไปค้นหาเรื่องราวที่มาของดอกไม้สวรรค์ดอกนี้กันเลยค่ะ
 
ประวัติและตำนาน
 
          ปาริชาติ เป็นต้นไม้แห่งความสมปรารถนาเช่นเดียวกับกามเธนุและเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรเช่นกัน พระอินทร์นำไปปลูกไว้ในสวนของพระองค์บนสวรรคโลก (Svargaloka) ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีดอกสีขาวแต้มแดงกลิ่นหอมอบอวล
 
          ในกฤษณาวตาร ภาคหนึ่งของพระวิษณุ ได้แอบไปขโมยต้นปาริชาติจากสวรรค์ตามความปรารถนาของนางสัตยภามา (Satyabhama) ชายาของพระองค์ แต่เกรงว่านางรุกมินี (Rukamini) ชายาอีกคนจะน้อยใจ จึงปลูกต้นปาริชาติไว้ในสวนของนางสัตยภามาแต่หันกิ่งก้านไปทางสวนของนางรุกมินี เวลาที่ดอกปาริชาติร่วงหล่นจะได้ตกใส่สวนของนาง ด้วยเหตุนี้ต้นปาริชาติจากสวรรค์จึงได้ลงมาอยู่บนโลกมนุษย์
 
          อีกตำนานกล่าวถึงหญิงสาวนางหนึ่งหลงรักพระสุริยเทพ นางได้แต่นั่งเฝ้าชมราชรถของพระองค์ขับเคลื่อนผ่านไปทุกเช้าเย็น ช่วงแรกพระสุริยเทพก็สนใจในตัวนางดีแต่ต่อมาไม่นานพระองค์ก็ไปหลงรักหญิงอื่น นางจึงฆ่าตัวตาย จากนั้นต้นปาริชาติก็เกิดขึ้นจากกองเถ้าถ่านที่เผาศพนาง เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีขาวแต้มแดงและบานส่งกลิ่นหอมในยามค่ำคืนเท่านั้น เมื่อถึงยามรุ่งอรุณดอกปาริชาติก็ร่วงโรยดุจน้ำตาของนาง  บางครั้งก็เชื่อกันว่า ดอกปาริชาติเป็นดอกไม้แห่งความเศร้า
 

          แต่ในวรรณคดีทางพุทธศาสนา เช่น เตภูมิกถา และ กามนิตวาสิฏฐี กล่าวว่า ต้นปาริชาติ คือ ต้นทองหลาง อยู่ในปุณฑริกวันบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์มีดอกสีแดงฉาน ร้อยปีจึงจะบานสักครั้ง ทุกครั้งที่บานจะส่งกลิ่นหอมและมีแสงสว่างไปทั่ว เหล่าเทพบุตรเทพธิดาจะมาฉลองร่วมกันใต้ต้นปาริชาติ
 
          ผู้ใดที่ต้องการดอกไม้ไปทัดหูเพียงยื่นมือออกไปดอกไม้นั้นก็หล่นลงมาเอง หากรับไม่ทันจะมีลมหมุนวนประคองไว้จนกว่าจะรับได้ กลิ่นของดอกปาริชาติจะทำให้ผู้ที่สูดดมเข้าไปเกิดอาการวิงเวียนและสามารถระลึกชาติได้  ตั้งแต่ชาติที่ใกล้ที่สุดจนถึงชาติที่ไกลโพ้นออกไป ในขณะที่ดอกปาริชาติในอินเดีย คือ ดอกกรรณิการ์ ของไทยเรานั่นเอง เป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีของหญิงสาวที่เพิ่งแต่งงานใหม่  และเป็นดอกไม้สำหรับบูชาพระกฤษณะ

ดอกอัญชัญ

                                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติ ดอกอัญชัน



ประวัติ

นประเทศไทยเราได้มีสมุนไพรมากมายที่จะให้ประโยชน์แก่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งจะมีสมุนไพรหลากหลายชนิดซึ่งจะมีสรรพคุณแตกต่างกันเช่น
 ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยล้างสารพิษในร่างกายหรือดอกอัญชันมีสรรพคุณช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายได้ดีหรือว่านหางจระเข้นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้
 แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง รักษาผิวที่ถูกแดดเผา แผลในกระเพาะอาหาร และช่วยถอนพิษได้ เป็นต้น
ดอกอัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อนก่อนที่จะนำไปแพรพันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลียและอเมริกา ดอกอัญชันเป็นไม้เลื้อย ลำต้นมีสีเขียวมีขน
 ใบสีเขียวเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ดอกสีน้ำเงินแก่ตรงกลางมีสีเหลืองบางชนิดมีสีขาว หรือสีม่วงอ่อน ผลแบบฝักถั่ว ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง 
ขึ้นงอกงามดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ชอบแสงทั้งวันอัตราการเจริญเติบดีมาก นิยมปลูกตามรั้ว เป็นซุ้ม เป็นพันธุ์ไม้ในเขตร้อน ขึ้นได้ทั่วไปดอกอัญชันมีสารแอนโธไซยานิน 
ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเล็กๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมและนัยน์ตามากขึ้น สารแอนโทรไซยานินนี้จะพบในผลไม้และดอกไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง หรือสีม่วง 
มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ โดยที่พืชจะสร้างสารนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันดอกหรือผลตัวเอง จากอันตรายของแสงแดดหรือโรคภัย
ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความต้องการที่จะศึกษาเรื่องดอกอัญชัน ประวัติของดอกอัญชันประโยชน์ของดอกอัญชันและผลิตภัณฑ์จากดอกอัญชัน เพื่อเป็นการอนุรักษ์สมุนไพรไทยให้คงอยู่ต่อไป 

ดอกเก็กฮวย




                             ประวัติ






ดอกเก๊กฮวย หรือจวี๋ฮัว ( 菊花 ) (Juhua) มีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์หลักที่ใช้เป็นยา คือสีขาว Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. หรือ Chrysanthemum morifolium Ramat. ตระกูล Asteraceae และส่วนสายพันธุ์ดอกสีเหลือง Dendranthema indicum L. หรือ Chrysanthemum indicum L . มีใช้แตกต่างเล็กน้อยจากสีขาว สำหรับพันธุ์อื่น เป็นเก๊กฮวยป่า Dendranthema boreale (Makino) Ling ต้นเก๊กฮวยดอกสีขาว สูง 60-150 เซนติเมตร ปลูกได้คุณภาพดีที่มณฑลเจอะเจียง อันฮุย และเหอหนาน การเก็บดอกเป็นยา จะเก็บเมื่อปลายฤดูใบไม้ร่วง และช่วงต้นของฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกไม้ชนิดนี้บาน นำมาตากในที่ร่วมจนแห้ง คุณสมบัติประจำตัว คือมีกลิ่นฉุน ขม และ รสหวาน มีความเย็น มีผลโดยตรงต่อปอด และ ตับ การออกฤทธิ์ ขับไล่ลม (วาตะ) ความร้อน ช่วยขจัดความร้อนหรือไฟออกจากตับ อันจะมีผลช่วยในการรักษาโรคทางตา และขจัดสารพิษออกจากร่างกาย



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ดอกดาวเรือง

                                  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติดอกดาวเรือง



ประวัติ

ดอกดาวเรืองนั้นมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ดาวเรืองเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Tagetes โดยดาวเรืองมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเม็กซิโก ต่อมามีคนนำเข้าไปปลูกในประเทศแถบยุโรป  ดาวเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายชนิดหนึ่ง และยังสวยงาม คงทน ไม่แพ้ดอกไม้ชนิดใด จึงเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย อย่างมาก ในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเม็กซิโกถิ่นกำเนิด คนในเอเชียใต้จะใช้ดอกดาวเรืองสำหรับระกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู  ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะใช้บูชาทางศาสนาพุทธและพิธีมงคลต่างๆ แต่ในแม็กซิโกดอกดาวเรืองนั้นจะใช้ในเทสกาลวันแห่งความตาย   คนนิยมใช้ดอกดาวเรืองบูชาแท่นพระนางแมรี  แต่ก่อนนี้ ดอกดาวเรืองมีเพียงสีเดียวเท่านั้นคือสีเหลือง ไม่ได้มีหลากสีดังเช่นปัจจุบัน  ดอกไม้ชนิดนี้จึงถูกขนานนามว่า Mary's gold ตามสีนั่นเอง ต่อมาจึงเรียกกันเพี้ยนไปเป็น Marigolds ดาวเรืองไม่ใช่มีประโยชน์แค่การบูชาเท่านั้น มันยังถูกนำไปใช้ ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกในกระถาง ไว้ตามอาคารบ้านเรือน และยังถูกนำไปใช้เป็นสีย้อมผ้าและทำสีผสมอาหารสำหรับสัตว์อีกด้วย 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติดอกดาวเรือง

ดอกลิลลี่

                                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติดอกลิลลี่



ประวัติ


ดอกลิลลี่เป็นดอกไม้สากลdooflower เชื่อว่าเพื่อนๆ ทุกคนรู้จักกับดอกลิลลี่เป็นอย่างดี แต่ดอกลิลลี่นั้นมีมากมาย หลากหลายสี ดังนั้นดอกลิลลี่แต่ละสีก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันไปด้วย  ถ้าคุณมีโอกาสดีๆ ที่อยากส่งดอกไม้ให้คนรู้จัก คุณต้องรู้เสียก่อนนะ ว่าสีของดอกลิลลี่นั้นมีความหมายที่แตกต่างกันอย่างไร


  • ดอกลิลลี่สีขาว เราเริ่มต้นกันที่ดอกลิลลี่สีขาวกันก่อนนะ ดอกลิลลี่สีขาวมีความหมายถึง "ความรักที่บริสุทธ์"  อ่อนโยน และอ่อนหวาน เหมือนรักแรกพบอะไรประมาณนั้น ดอกลิลลี่สีขาว จะให้ความหมายคล้ายๆ กันกับดอกกุหลาบสีขาวนะ


ดอกลิลลี่สีเหลือง ต่อไปเรามาดูความหมายของดอกลิลลี่สีเหลืองกันบ้าง ดอกลิลลี่สีเหลือง จะหมายถึง "ความรักที่แสดงออกถึงความห่วงใย"  เป็นห่วงตลอดเวลา อยากให้ปลอดภัย ความหมายของดอกลิลลี่สีเหลืองจะประมาณนี้นะ


  • ดอกลิลลี่สีส้ม ความหมายของดอกลิลลี่สีส้ม ก็จะสดใสเหมือนสีของมันนั้นเอง ดอกลิลลี่สีส้มหมายถึง ความสนุก ความร่าเริง แฮปปี้ มีความสุข ดอกลิลลี่สีส้ม จึงเป็นดอกไม้ที่น่าให้สำหรับเพื่อนสนิท คนรู้จักทั่วไป


ดอกลิลลี่สีชมพู เป็นดอกที่เหมาะจะให้แก่คนรัก ด้วยสีที่หวานของสีชมพู จึงทำให้การให้ดอกลิลลี่สีชมพูนั้น แสดงออกถึงความรักที่ลงตัว ประมาณว่าเธอคือคนที่ใช่ และเป็นอะไรที่ชอบ



ดอกลิลลี่มีทั้งหมด 4 สี ความหมายก็แตกต่างกันออกไป ถ้าคุณอยากส่งดอกลิลลี่ให้ใครสักคนก็อย่าลืมอ่านความหมายของดอกลิลลี่ด้วยนะ จะได้ไม่สื่อความหมายผิดๆ ออกไป

ดอกชบา

                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติดอกชบา



ประวัติ


ประวัติชบา ฤดูร้อน
       ชบาพืชที่พบได้ทั่วไปในส่วนต่างๆ ของโลกมีถิ่นกำเนิดเป็นบริเวณกว้างใขเขตร้อนชื่น จากสมมุติฐานของ Ross Gast ในหนังสือ Genetic History of Hibibiscus rosasinensis บันทึกว่า ชบามีการกระจายพันธุ์เริ่มจากอินเดีย ซึ่งมีการนำชบามาใช้ประโยชน์ในกลุ่มชาวโพลินนีเซียน ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่จีน และบริเวณหมู่เกาะแปซิฟิก โดยนำชบาดอกสีแดง ( ปัจจุบันคือ Hibiscus rosasinensis ) ที่เรียกกันว่า กุหลาบจีน หรือ ” Rose of China ” ซึ่งมี ทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนมาใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ มีการสะสมพันธุ์   และส่งไปประเทศในแถบยุโรป
          ชบาแพร่เข้าสู่ยุโรปครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2221 โดย Van Reed ซึ่งเป็นชบาสีแดงกลีบดอกซ้อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2275 Philip Miller และคณะได้นำชบาพันธุ์ดอกซ้อนและพันธุ์อื่น ๆ เข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยนำมาปลูกสะสมพันธุ์ที่ The Chelsea Physic Garden และทดลองผลิตลูกผสม แต่ยังไม่แพร่หลายนัก ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus javanica เพราะเข้าใจว่าชบาที่นำเข้ามาเป็นพืชพื้นเมืองของเกาะชวา (Java)ของอินโดนีเซีย ต่อมากัปตันคุกและคณะได้เดินเรือสำรวจหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกไปพบชบากลีบดอกซ้อนสีแดงปลูกอยู่ทั่วไป
การปลูกชบาในฮาวายมีความนิยมมากว่า 100 ปีแล้ว  ในช่วงแรกมีการนำชบาสีแดงกลีบดอกชั้นเดียวจากจีนมาผสมกับพันธุ์พื้นเมืองของฮาวาย และพู่ระหง เพื่อผลิตลูกผสมที่มีลักษณะแปลกใหม่ โดยในปีพ.ศ.2457 GERNIT  WILDER เป็นบุคคลแรกที่รวบรวมพันธุ์ชบาและนำมาจัดแสดงได้มากถึง 400 พันธุ์ ในปีต่อมาจึงเรื่มมีผู้ให้ความสนใจและผลิตลูกผสมที่มีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันออกมามากมาย จนในปี พ.ศ.2466 มีการออกกฎหมายประกาศให้ชบาเป็นดอกไม้ประจำ
                   นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาชบาพันธุ์ลูกผสม ๆ โดยนักปรับปรุงพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการเข้ามาสู่ประเทศไทยของชบานั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเมื่อใด  แต่ก็มีเรื่องราวของดอกพุดตาน  [  Hibicus mutabilis  ]  ซึ่งเป็นพืชในสกุล ชบาปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง วรรณกรรมสมัยสุโขทัย กล่าวถึงการใช้ดอกพุดตานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ( เป็นสัญลักษณ์ของการผลัดแผ่นดิน เพราะดอกพุดตานจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิของวันนั่นเอง ) จึงน่าเชื่อได้ว่าจะมีการปลูกเลี้ยงพืชสกุลชบาในประเทศไทยกันแล้วในสมัยสุโขทัยและสันนิษฐานว่าคงจะนำเข้าจากประเทศจีนที่มีการติดต่อค้าขายกันอยู่ในสมัยนั้น นอกจากนี้ในสมัยโบราณคนไทยยังมีประเพณีและความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียในด้านที่ไม่เป็นมงคล  เช่น  การใช้ดอกชบาคล้องคอนักโทษประหาร เพื่อประจานความผิด  แต่ในปัจจุบันความเชื่อนี้ได้ลดน้อยลงจนแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม  ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อที่เป็นสิริมงคลเกี่ยวกับชบา  เช่น  คนปีกุนที่ปลูกบ้านใหม่จะใช้ดอกชบาและใบทองพันชั่งวางก้นหลุมรองเสาเอกของบ้าน  เพราะเชื่อว่าจะทำให้เจ้าของบ้านร่ำรวย จึงกล่าวได้ว่า ชบาเป็นพืชที่มีความผูกพันกับคนไทยมาช้านาน  นิยมนำมาปลูกประดับบ้าน เพราะดูแลรักษาง่ายและออกดอกสวยงามตลอดปี

ดอกกล้วยไม้

                                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติดอกกล้วยไม้ 






 กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็น   ไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอก และสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้วยไม้ เลี้ยงต้นกล้วยไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อ และส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้
ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
วิธีการปลูกกล้วยไม้

การล้างลูกกล้วยไม้
คือการล้างลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพาะแล้วล้างให้หมดเศษวุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟินในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก
ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่ หรือกระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6 นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่านขนาดประมาณ 1 นิ้ว สูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้วโรยทับด้วยออสมันด้าหนาประมาณ 1 นิ้ว ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ
เจาะผิวหน้าออสมันด้าในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้ยอดตั้งตรง แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่
ลูกกล้วยไม้ที่ต้นใหญ่ให้ปลูกในกระถางขนาด 1 นิ้ว ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมันด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมาใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้าให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้าเข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตามเดิมเสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้
สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อยู่ในกระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควรย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไปปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวกัน
การปลูกลงในกระเช้า
เมื่อลูกกล้วยไม้ในกระถางนิ้วมีรากเจริญแข็งแรงดี มีใบยาวประมาณข้างละ 2 นิ้ว ซึ่งจะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 6-7 เดือน ก็นำไปลงปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 3-5 นิ้ว ด้วยการนำกระถางนิ้วไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้แกะออกจากกระถางได้ง่าย ใช้นิ้วดันที่รูก้นกระถาง ทั้งต้นและออสมันด้าจะหลุดออกมา มือข้างหนึ่งจับออสมันด้าและลูกกล้วยไม้วางลงตรงกลางกระเช้าที่เตรียมไว้
มืออีกข้างหนึ่งหยิบก้อนถ่านไม้ขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในช่องระหว่างออสมันด้ากับผนังของกระเช้าให้พยุงลำต้นได้ นำไปแขวนไว้ในเรือนกล้วยไม้
การย้ายภาชนะปลูก
เมื่อลูกกล้วยไม้มีใบยาว 4-5 นิ้ว ควรจะย้ายไปปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 8-10 นิ้ว โดยสวมกระเช้าเดิมลงไปในกระเช้าใหม่เพื่อมิให้รากกระทบกระเทือน ใช้ก้อนถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ วางเกยกันโปร่งๆ หรือจะไม่ใช้เลยก็ได้ เนื่องจากกล้วยไม้ไม่ต้องการเครื่องปลูกที่แน่นและชื้นแฉะเป็นเวลานานๆ
ถ้าไม่ต้องการสวมกระเช้าเดิมลงไปก็นำกระเช้าเดิมไปแช่น้ำก่อน เพื่อให้แกะรากที่จับติดกระเช้าออกได้ง่าย นำต้นที่แกะออกแล้ววางตรงกลางกระเช้า ให้ยอดตั้งตรง มัดรากบางรากให้ติดกับซี่พื้นด้านข้างของกระเช้า
การตกแต่งกล้วยไม้ต้นใหญ่ก่อนปลูก
สำหรับกล้วยไม้ลำต้นใหญ่ที่ได้มาจากที่อื่นหรือจากการแยกหน่อ จะต้องตัดราก และใบที่เน่า หรือเป็นแผลใหญ่ๆ ทิ้งเสียก่อน รากบางส่วนที่ยังดีแต่ยาวเกินไป อาจตัดให้สั้นจนเกือบถึงโคนต้น แล้วทาแผลที่ตัดทุกแผลด้วยปูนแดงหรือยาป้องกันโรค เช่น ออร์โธไซด์ 50 ผสมน้ำให้เละมากๆ นำต้นกล้วยไม้ลงปลูกในกระเช้าไม้ซึ่งมีขนาดเหมาะสมกับลำต้น
          นอกจากนั้นยังอาจนำกล้วยไม้ต้นใหญ่ไปผูกติดกับท่อนไม้ หรือกระเช้าสีดา ให้บริเวณโคนต้นติดอยู่กับภาชนะปลูก ส่วนยอดอาจตั้งตรงทาบขึ้นไปหรือลำต้นโน้มไปข้างหน้าและส่วนยอดเงยขึ้น มัดลำต้นตรงบริเวณเหนือโคนต้นขึ้นไปเล็กน้อยให้ติดกับภาชนะปลูกด้วยเชือกฟางหรือลวด 1-2 จุด และมัดรากใหญ่ๆ ให้ติดกับภาชนะปลูกอีก 1-2 จุด เพื่อให้ติดแน่น อาจใช้กาบมะพร้าวกาบอ่อนชุบน้ำให้ชุ่ม มัดหุ้มบางๆ รอบโคนต้นกล้วยไม้เหนือบริเวณที่เกิดรากเล็กน้อยกับท่อนไม้ก็ได้ และนำท่อนไม้หรือกระเช้าสีดาไปแขวนบนราวเมื่อเกิดรากใหม่เกาะติดภาชนะปลูกดีแล้ว จึงตัดเชือกฟางหรือลวดออก